http://research.uru.ac.th/engagement/

1. หลักการและเหตุผล

                ปรัชญามหาวิทยาลัยราชภัฏคือ การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงได้กำหนดพันธกิจ (มาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.๒๕๔๗) ในการแสวงหาความจริงเพื่อสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ บนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาสากล (ข้อ ๑) ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม สำนึกในความเป็นไทย มีความรักและผูกพันต่อท้องถิ่น อีกทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน เพื่อช่วยให้คนในท้องถิ่นรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง การผลิตบัณฑิตดังกล่าว จะต้องให้มีจำนวนและคุณภาพสอดคล้องกับแผนการผลิตบัณฑิตของประเทศ (ข้อ ๒) เรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนาและนักการเมืองท้องถิ่น ให้มีจิตสำนึกประชาธิปไตย คุณธรรม จริยธรรม และความสามารถในการบริหารงานพัฒนาชุมชน และท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม (ข้อ ๔) และประสานความร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างมหาวิทยาลัย ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรอื่นทั้งในและต่างประเทศเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (ข้อ ๖) ประกอบกับอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษามีภารกิจหลักสำคัญอยู่ ๔ ประการได้แก่ การสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ดังนั้นด้วยพันธกิจและภารกิจดังกล่าวมหาวิทยาลัยราชภัฏ จึงได้มีนโยบายสนับสนุนให้อาจารย์ นักวิจัยได้จัดให้มีการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการให้เป็นกิจกรรมเดียวกันกับงานด้านการวิจัย รวมถึงการกำหนดทิศทาง ปัญหา โดยเน้นประเด็นการวิจัยและการบริการวิชาการที่ตอบสนองต่อความต้องการ และการมีส่วนร่วมของชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้สถาบันศึกษาได้มีส่วน ในการพัฒนาและแก้ปัญหาของสังคม ชุมชนและท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบัน งานวิจัยและบริการวิชาการ ของอาจารย์ นักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏมีจำนวนมากมายที่มีผลงานโดดเด่น เป็นที่ยอมรับ และหลายเรื่องที่มีผลกระทบ (Social Impact) ทางสังคม ชมชนท้องถิ่น

                ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างแรงกระตุ้นให้อาจารย์ นักวิจัยได้ผลิตงานวิจัยที่มีมิติเกี่ยวข้องกับการศาสตร์ของนักวิจัยควบคู่ กับให้ความสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถการผลิตผลงานวิจัย การบริการวิชาการ ตลอดจนการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมในกระบวนการเรียนการสอนสายรับใช้สังคมของ อาจารย์ นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา จึงได้จัดทำโครงการประชุมวิชาการขึ้น เพื่อร่วมงานประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ “การจัดการความรู้และการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21” เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ

2. วัตถุประสงค์

1. เพื่อเปิดเวทีเสนอผลงานที่มีมิติเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้และการเรียน รู้ผลงานงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรืองานบริการวิชาการของอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ สถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานต่าง ๆ สู่สาธารณชนในระดับชาติและนานาชาติ

2. เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้คณาจารย์ในมหาวิทยาลัยได้ตระหนักและเห็นถึงความ สำคัญในพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่มีต่อสังคมโดยการผลิตและเผยแพร่ผลงาน วิชาการงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

3. เพื่อส่งเสริมและสร้างเครือข่ายวิชาการกับสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

4. เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ในระดับชาติและนานาชาติ

5. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และยกระดับคุณภาพผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ในระดับชาติและนานาชาติ

3. ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1. จำนวนบทความวิชาการที่นำเสนอในการประชุมวิชาการ

2. จำนวนโครงการ งานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ที่นำเสนอในกิจกรรมตามโครงการฯ

3. จำนวนอาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา และบุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการฯ

4. แนวทางความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาทั้งภายในและต่างประเทศ

4. เป้าหมายตามตัวชี้วัด

1. มีการเผยแพร่งานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์และงานบริการวิชาการที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจ ของมหาวิทยาลัยกับสังคมในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ

2. มีระบบ และกลไกสนับสนุนการจัดการความรู้และการเรียนรู้ในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ

3. มีการพัฒนาความรู้ที่ได้จากการดำเนินงานตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยโดยการให้ บริการวิชาการและการถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลภายในสถาบันและเผยแพร่สู่สาธารณชน

5. สถานที่จัดการประชุม

หอประชุมใหญ่ อาคารภูมิราชภัฏ และอาคาร ICIT มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

6.ระยะเวลาการดำเนินงาน

วันที่ 3 – 4 ธันวาคม 2559

7. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา บุคลากรสถาบันการศึกษา และหน่วยงานอื่นๆ มากกว่า 500 คน

8. องค์กร / หน่วยงานที่ร่วมจัด

สถาบันวิจัยและพัฒนา วิทยาลัยนานาชาติ สถาบันอาเซียนศึกษา และหน่วยงานระดับคณะ

9.เนื้อหาและกิจกรรม

1.1 ภาคการปาฐกถาและเสวนา

        1.1.1.การปาฐกถาพิเศษ“การจัดการความรู้และการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่21”

        1.1.2 เวทีเสวนา “การจัดการความรู้และการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่21”

1.2 ภาคนิทรรศการ แบ่งเป็น 4 ส่วน ดังนี้

        1.2.1 นิทรรศการ “การจัดการความรู้และการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ”

        1.2.2 นิทรรศการงานวิจัยดีเด่น

        1.2.3 นิทรรศการผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์

        1.2.4 นิทรรศการกิจกรรมของคณะและหน่วยงาน

1.3 การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย แบ่งเป็น 7 ห้องย่อย (ทั้งภาคภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ)

        1.3.1 ด้านการจัดกาความรู้และการเรียนรู้

          1) กลุ่มนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

          2) กลุ่มเทคนิคและวิธีการสอน

          3) กลุ่มการบริหารจัดการจัดการศึกษา

          4) กลุ่มการศึกษากับอาเซียน

          5) กลุ่มการวิจัยทางการศึกษา

        1.3.2 ด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

        1.3.3 ด้าน สังคมสาสตร์และการพัฒนา

        1.3.4 ด้าน กลุ่มเรื่องอื่น ๆ

1.4 การประกวดผลงานวิจัยเด่นประเภทอาจารย์และนักศึกษา

1.5 การเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. นักวิชาการ อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาได้รับรู้ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และประสบการณ์กันในด้านการวิจัยและการบริการวิชาการ

2. นักวิชาการ อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา รวมถึงผู้สนใจทั่วไปได้เกิดความตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญการจัดการ ความรู้และการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21หรือการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อรับใช้สังคม

3. ผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการได้ทราบถึงเส้นทางการผลิตนักศึกษา และพันธกิจของมหาวิทยาลัยกับการรับการจัดการความรู้และการเรียนรู้เพื่อ พัฒนาทักษะในศตวรรษที่21

4. ได้แนวทางความร่วมมือเกี่ยวกับการจัดการความรู้และการเรียนรู้เพื่อพัฒนา ทักษะในศตวรรษที่ 21 ระหว่างสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานทั้งภายในและต่างประเทศ

11. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์


วันที่ 31 พฤษภาคม 2559   โดย
อ่าน 982 ครั้ง

       

สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
340 ถ.สุรนารายณ์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000
โทรศัพท์ 044-009009 ต่อ 9460
โทรสาร 044-272941
E-mail : wijaikorat@nrru.ac.th

Copyright (c) Research and development Institute. All rights reserved.