1. หลักการและเหตุผล

      ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคอาเซียนมีหลาย รูปแบบซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ก่อให้เกิดผลเสียหายส่งผลกระทบต่อชีวิตและ ทรัพย์สินเป็นอย่างมากตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ได้แก่ พายุหมุนเขตร้อน อุทกภัย แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม ไฟป่า ฝนแล้ง และ คลื่นพายุซัดฝั่งรวมทั้งสึนามิ ซึ่งเป็นภัยธรรมชาติที่ได้เกิดให้เห็นทั้งปรากฏการณ์และผลกระทบในเกือบทุก ภูมิภาคของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยธรรมชาติที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 คือการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในจังหวัดเชียงรายขนาด 6.3 ตามมาตราริกเตอร์ และยังเกิดอาฟเตอร์ซ๊อคต่อเนื่องตามมานับพันครั้ง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้นักวิชาการด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติส่วนใหญ่ได้คาด การณ์แนวโน้มในอนาคตว่า ภัยธรรมชาติดังกล่าวข้างต้นอาจเกิดขึ้นได้อีก และจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น จึงควรเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนในท้องถิ่นและชุมชนได้พร้อมรับมือกับภัย ธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอย่างรู้เท่าทันปรากฏการณ์นั้น ๆ โดยอาศัยความร่วมมือจากทั้งชุมชนท้องถิ่น หน่วยงาน ภาครัฐ และ เอกชน พร้อมทั้งภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาร่วมมือกันจัดการภัยธรรมชาติอย่างยั่งยืน ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา การพัฒนา การอนุรักษ์ การป้องกัน การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ที่จะนำไปสู่การปรับตัวของประชาชนและชุมชนท้องถิ่นให้อยู่ได้ในสถานการณ์ที่ เกิดผลกระทบจากภัยธรรมชาติอย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

      สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ในฐานะที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อท้องถิ่น ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเตรียมรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติข้างต้นให้ แก่ชุมชนท้องถิ่นและสังคม จึงได้จัดประชุมสังคมศาสตร์วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 ในเรื่อง “ภัยธรรมชาติกับการจัดการอย่างยั่งยืนในระดับท้องถิ่น ประเทศ และ อาเซียน” เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในผลกระทบ การเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติและเป็นเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้จากผลงานวิจัยด้านการจัดการภัยธรรมชาติสู่ สาธารณะต่อไป


2. วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและการเตรียมความพร้อมรับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ
  2. เพื่อให้เป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัยด้านการจัดการภัยธรรมชาติและผลงานวิจัยด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  3. เพื่อการบริการวิชาการแก่ชุมชนท้องถิ่น สังคมไทย และอาเซียน

3. ระยะเวลา

      วันที่ดำเนินการ  14  มกราคม  2558


4. สถานที่

      โรงแรมเวียงอินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


5. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

      สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย


6. กลุ่มเป้าหมาย

  1. ผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากสถาบันระดับอุดมศึกษา
  2. ผู้เข้าร่วมประชุมจากองค์กรชุมชน ชุมชน โรงเรียน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรจากภาครัฐ-เอกชน และประชาชนผู้สนใจทั่วไปในประเทศไทย

7. รูปแบบการจัดงานประชุม

  1. การบรรยาย อภิปรายของผู้ทรงคุณวุฒิระดับชาติด้านภัยธรรมชาติและการจัดการ
  2. การนำเสนอผลงานวิจัยด้านภัยธรรมชาติและการจัดการ และด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคบรรยาย (Oral Presentation) และนำเสนอแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation)
  3. นิทรรศการเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านภัยธรรมชาติและการจัดการ และด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

8. ประเด็นการนำเสนอผลงานวิจัย

  1. องค์ความรู้เกี่ยวกับภัยธรรมชาติ(วาตภัย อุทกภัย แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม ไฟป่า ฝนแล้ง และ คลื่นพายุซัดฝั่งรวมทั้งสึนามิ)
  2. การจัดการภัยธรรมชาติ (ตั้งแต่ระดับต้นน้ำ – กลางน้ำ – ปลายน้ำ)
    • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    • การคิดค้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการป้องกันและแก้ไขผลกระทบจากภัยธรรมชาติ
    • การคิดค้นระบบการติดตาม การเฝ้าระวัง ภัยธรรมชาติ
    • ภูมิปัญญาด้านการจัดการและป้องกันภัยธรรมชาติ
  3. ด้านการศึกษา
    • การจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน นักศึกษา และ เยาวชนให้มีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดความตระหนักต่อสังคม และการพัฒนาสังคม
    • นวัตกรรมทางการศึกษา
    • การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
  4. ด้านการบริหารจัดการ
    • การบริหารจัดการธุรกิจ
    • การบริหารรัฐกิจ
  5. วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  6. สุขภาพและสาธารณสุข
  7. เทคโนโลยีและสารสนเทศ

9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น และสังคม มีการป้องกันและเตรียมความพร้อมรับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ
  2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ผลงานวิจัยด้านภัยธรรมชาติและการจัดการ
  3. เผยแพร่องค์ความรู้และผลงานวิจัยทางวิชาการในด้านต่าง ๆ
  4. สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ได้บริการวิชาการแก่สังคม

 
 
 
 

 

  1. องค์ความรู้เกี่ยวกับภัยธรรมชาติ (วาตภัย อุทกภัย แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม ไฟป่า ฝนแล้ง และ คลื่นพายุซัดฝั่งรวมทั้งสึนามิ)
  2. การจัดการภัยธรรมชาติ (ตั้งแต่ระดับต้นน้ำ – กลางน้ำ – ปลายน้ำ)
    • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    • การคิดค้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการป้องกันและแก้ไขผลกระทบจากภัยธรรมชาติ
    • การคิดค้นระบบการติดตาม การเฝ้าระวัง ภัยธรรมชาติ
    • ภูมิปัญญาด้านการจัดการและป้องกันภัยธรรมชาติ
  3. ด้านการศึกษา
    • การจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน นักศึกษา และ เยาวชนให้มีความรู้ ความเข้าใจ และ เกิดความตระหนักต่อสังคม และการพัฒนาสังคม
    • นวัตกรรมทางการศึกษา
    • การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
  4. ด้านการบริหารจัดการ
    • การบริหารจัดการธุรกิจ
    • การบริหารรัฐกิจ
  5. วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  6. สุขภาพและสาธารณสุข
  7. เทคโนโลยีและสารสนเทศ

 


รูปแบบการนำเสนอผลงานวิจัย

 

  1. การส่งบทความวิจัยเพื่อนำเสนอบทความวิจัยให้ส่งภายในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2557 ทาง Email : lela_treeaeka@yahoo.com โดยเขียนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
  2. บรรยายโดยใช้โปรแกรม Microsoft Power Point
  3. เวลาในการบรรยาย 10 นาที ซักถาม 10 นาที
  4. นำเสนอในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา 12.30 – 17.00 น. ณ ห้องประชุมโรงแรม เวียงอินทร์ จังหวัดเชียงราย
  5. วัน-เวลาในการส่งไฟล์บทความวิจัยเพื่อนำเสนอในวันที่ 14 มกราคม 2558 เวลา 11.00-12.15 น. ณ ห้องประชุมนำเสนอผลงานตามประเด็น

 


 

  1. การส่งบทความวิจัยเพื่อนำเสนอบทความวิจัยให้ส่งภายในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2557 ทาง Email : lela_treeaeka@yahoo.com โดยเขียนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
  2. รูปแบบโปสเตอร์ เนื้อหาประกอบด้วย
    • ชื่อเรื่อง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
    • ชื่อผู้วิจัย (ภาษาไทย)
    • วัตถุประสงค์การวิจัย
    • วิธีดำเนินการวิจัย
    • ผลการวิจัย
    • สรุปผลการวิจัยและอภิปรายผล
    • การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
  3. ขนาดโปสเตอร์ ขนาด 80 x 180 เซนติเมตร แบบ X – สแตนน์ (X-stand) ที่ผู้นำเสนอเตรียมอุปกรณ์มาติดตั้งเอง
  4. วัน-เวลา ติดตั้งโปสเตอร์ : วันที่ 13 มกราคม 2558 เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ณ บริเวณที่กำหนดไว้ ของโรงแรม เวียงอินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และเก็บคืนหลังเวลา 17.00 น.
  5. วัน-เวลา และสถานที่นำเสนอผลงาน : วันที่ 14 มกราคม 2558 เวลา 12.30 – 17.00 น. ณ บริเวณที่ตั้งโปสเตอร์ เพื่อการนำเสนอ ให้ผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

 


 

  1. ต้นฉบับพิมพ์เป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษก็ได้ ให้จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word โดยจัดหน้ากระดาษมาตรฐาน ขนาด A4 ตั้งค่าหน้ากระดาษสำหรับการพิมพ์ระยะห่างจากขอบกระดาษทุกด้าน 2.5 เซนติเมตร ใส่เลขหน้าที่มุมขวาบนทุกหน้า
  2. รูปแบบตัวอักษรใช้ TH SarabunPSK ขนาด 14 ชื่อเรื่องขนาด 18 ตัวหนา หัวข้อหลักอื่น ๆ ในบทความให้พิมพ์ไว้ริมซ้ายสุดของหน้ากระดาษ ขนาด 16 ตัวหนา เชิงอรรถที่เป็นชื่อ ตำแหน่งทางวิชาการของผู้นิพนธ์และที่อยู่ใช้ตัวอักษรขนาด 12 ความยาวของบทความไม่ควรเกิน 10 หน้า
  3. ตาราง รูปภาพ ภาพลายเส้น แผนภูมิ และกราฟ (Tables, Picture, Figure, Diagram and Graph) แทรกไว้ในเนื้อเรื่อง โดยให้ผู้นิพนธ์คัดเลือกเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น ชื่อตารางให้อยู่ด้านบนของตาราง ส่วนชื่อภาพ แผนภูมิ และกราฟให้อยู่ด้านล่าง
  4. การส่งต้นฉบับ ให้ผู้นิพนธ์ส่งบทความวิจัย ทาง E-mail ที่กำหนดไว้
  5. ประเภทของต้นฉบับ ประกอบด้วย
    1. ส่วนประกอบตอนต้น
      • ชื่อเรื่อง (Title) ควรสั้น กะทัดรัด แสดงเป้าหมายหลักของการวิจัย ความยาวไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษร ให้เขียนชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยก่อน ใต้ลงมาเป็นภาษาอังกฤษ โดยใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะอักษรตัวแรกยกเว้น Article และ Preposition ใช้ตัวพิมพ์เล็ก
      • ชื่อผู้นิพนธ์ (Authors and Coauthor) ระบุเฉพาะชื่อและนามสกุลเต็มทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สำหรับภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะอักษรตัวแรกของชื่อตัวและนาม สกุล ถ้ามีผู้วิจัยหลายคนหรือมีชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาอยู่ด้วย ให้ใช้หมายเลขกำกับตามลำดับและ ลงเครื่องหมายดอกจัน (*) พร้อมระบุตำแหน่งอาจารย์ที่ปรึกษา นักวิจัยท่านอื่น ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ และชื่อหน่วยงานของผู้วิจัยที่ส่วนล่างของหน้าแรกพร้อม e-mail address
      • บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (Abstract) ความยาวไม่เกิน อย่างละ 300 คำ โดยให้ลำดับบทคัดย่อภาษาไทยขึ้นก่อนตามด้วยบทคัดย่อภาษาอังกฤษ
      • คำสำคัญ (Keywords) ให้เขียนทั้งคำสำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่ละชุดไม่เกิน 5 คำ โดยให้ระบุไว้ท้ายบทคัดย่อของแต่ละภาษา
    2. เนื้อหาของบทความวิจัย ประกอบด้วย
      1. บทนำ
      2. วัตถุประสงค์การวิจัย
      3. สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
      4. วิธีดำเนินการวิจัย
      5. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
      6. เครื่องมือการวิจัย
      7. การเก็บรวบรวมข้อมูล
      8. การวิเคราะห์ข้อมูล
      9. สรุปผลการวิจัย
      10. อภิปรายผลการวิจัย
      11. ข้อเสนอแนะจากการวิจัย และข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งต่อไป
      12. เอกสารอ้างอิง

 


ประเภท อัตราค่าลงทะเบียน
ผู้นำเสนอผลงาน 2,500 บาท / คน
ผู้เข้าประชุมทั่วไป 2,500 บาท / คน
หมายเหตุ

 

  1. ค่าลงทะเบียนนี้ สำหรับเอกสารประกอบการประชุม อาหารว่าง อาหารกลางวัน และ CD Proceeding 1 แผ่น
  2. ผู้ลงทะเบียนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าที่พักเอง

 

ชื่อบัญชี

โครงการสังคมศาสตร์วิชาการ

ธนาคาร

กรุงศรีอยุธยา สาขา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

ประเภทบัญชี

ออมทรัพย์

หมายเลขบัญชี

422-1-36152-0

ไม่รับเช็คดร๊าฟและไปรษณีย์ธนาณัติ

ท่านสามารถส่งใบสมัครพร้อมทั้งสำเนาหลักฐานค่าลงทะเบียนมาโดยให้เลือกเพียง 1 ช่องทางดังนี้

ช่องทางที่ 1 : ทางโทรสารหมายเลข 053-702870 ต่อ 105 สำนักวิชาสังคมศาสตร์

ช่องทางที่ 2 : ทางอีเมล์ dreemriver.2011@gmail.com

หมายเหตุ

 

  1. การลงทะเบียนจะสมบูรณ์ต่อเมื่อสำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายได้รับสำเนา ใบโอนเงินค่าลงทะเบียนจากผู้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการแล้วเท่านั้น
  2. ให้นำหลักฐานใบโอนเงินค่าลงทะเบียนตัวจริงมาแสดงเพื่อขอรับใบเสร็จรับเงินในวันประชุมวิชาการ
  3. ผู้จัดประชุมวิชาการจะไม่คืนเงินค่าลงทะเบียนไม่ว่าจะกรณีใด ๆ ถ้าท่านไม่สามารถเดินทางมาเข้าร่วมประชุมวิชาการได้

 


ขั้นตอนการตีพิมพ์บทความใน Proceeding

 

  1. เจ้าของบทความส่งบทความตามรูปแบบที่กำหนด ทาง E-mail ที่ lela_treeaeka@yahoo.com โดยระบุการนำเสนอว่าเป็นแบบบรรยายหรือ โปสเตอร์ให้ชัดเจน
  2. ผู้จัดตรวจรูปแบบหากถูกต้องตามที่กำหนดและคณะกรรมการพิจารณา ให้นำเสนอได้ จะออกหนังสือตอบรับให้นำเสนอได้ภายใน 1 สัปดาห์นับจากวันที่ส่งบทความมาพิจารณา
  3. หลังจากได้รับการตอบรับให้นำเสนอได้แล้ว เจ้าของบทความกรอกใบสมัครให้ครบถ้วน และดำเนินการด้านการลงทะเบียนโดยโอนเงินตามหมายเลขบัญชีที่กำหนด
  4. เมื่อได้รับเอกสารการโอนเงินแล้ว ผู้จัดจะส่งบทความให้กับผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่านกลั่นกรองบทความ (Peer Review)
  5. ผู้จัดจะส่งบทความที่ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 2 ท่านให้ข้อเสนอแนะกลับไปยังเจ้าบทความเพื่อปรับตามข้อเสนอแนะ เมื่อปรับแก้แล้วให้ส่งกลับไปยังผู้จัดภายใน 1 สัปดาห์ หากเกินเวลาที่กำหนด บทความจะไม่ได้รับการตีพิมพ์ ท่านจะเสียสิทธิ์ในการนำเสนอผลงานวิจัย และไม่ได้รับคืนค่าลงทะเบียน
  6. ผู้จัดตรวจสอบบทความที่ปรับแก้ หากไม่มีข้อแก้ไขใด ๆ ถือว่าเป็นที่เรียบร้อย บทความจะถูกรวบรวมไว้พร้อมตีพิมพ์ใน Proceeding ต่อไป

 

 
 
 
 

ดาว์นโหลดเอกสาร & การสมัคร

 
 
 

สถานที่จัดงาน

โรงแรมเวียงอินทร์ เลขที่ 893 ถ.พหลโยธิน อ.เมือง จ.เชียงราย 57000 โทร : (053) 711-533

วันที่ 20 กรกฎาคม 2559   โดย
อ่าน 939 ครั้ง

       

สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
340 ถ.สุรนารายณ์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000
โทรศัพท์ 044-009009 ต่อ 9460
โทรสาร 044-272941
E-mail : wijaikorat@nrru.ac.th

Copyright (c) Research and development Institute. All rights reserved.