ขอเชิญนำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม เข้าร่วมประกวดและจัดแสดงในเวทีนานาชาติ

ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.inventorday.nrct.go.th

โครงการส่งเสริมผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์สู่เวทีระดับนานาชาติ

………………………………………………………………………………………..

ใน ปัจจุบัน แม้ว่าผลงานวิจัย/ผลงานประดิษฐ์คิดค้นของไทยจะมีความก้าวหน้า และได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการลงทุนด้านนี้มากขึ้นหากแต่การส่งเสริมให้ เกิดความรู้ และการใช้ความคิดสร้างสรรค์ (Knowledge and Creativity Idea) อย่าง จริงจังยังอาจไม่เพียงพอ ทำให้ส่วนหนึ่งผลงานอาจเป็นการไปทำซ้ำหรือลอกเลียนงานจากต่างประเทศได้ ดังนั้น การสร้างช่องทางให้นักวิจัยหรือนักประดิษฐ์ไทยได้มีโอกาสไปพบปะแลกเปลี่ยน ประสบการณ์กับนักวิจัย/นักประดิษฐ์ต่างประเทศ อาจเป็นกลไกหนึ่งที่น่าจะสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ไม่มากก็น้อย เนื่องจาก

๑. นักวิจัย/นักประดิษฐ์ไทย ได้รับทราบผลงานของต่างประเทศที่มีการคิดค้นพัฒนาขึ้นแล้ว

๒. นัก วิจัย/นักประดิษฐ์ไทย สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาพัฒนาผลงานให้สอดคล้องและเป็น ประโยชน์กับวัฒนธรรม/วิถีชีวิตของไทย แต่สามารถทัดเทียมนานาชาติได้ในเวลาเดียวกัน

๓. เป็นช่องทางทางการตลาดให้กับผลงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นทำให้เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจของประเทศได้

จาก ความสำคัญในการสร้างช่องทางให้นักวิจัย/นักประดิษฐ์ไทยได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน กับนักวิจัย/นักประดิษฐ์ต่างประเทศ ข้างต้น สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผลงาน วิจัย/ผลงานประดิษฐ์คิดค้นสามารถนำไปพัฒนาให้เกิดการสร้างมูลค่า/คุณค่าอัน เป็นประโยชน์กับประเทศ ตลอดจนส่งเสริมการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมทั้งในและต่างประเทศ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการจัดให้มีกิจกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนให้นัก วิจัย/นักประดิษฐ์ไทยได้นำผลงานวิจัย/ผลงานประดิษฐ์คิดค้นไปร่วมประกวดและ จัดแสดงในเวทีนานาชาติต่างๆ ทั้งนี้ วช. ได้มีการจัดกิจกรรมดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรมมาตลอดระยะเวลา ๕ ปีที่ผ่านมาซึ่งปรากฏผลสำเร็จเป็นอย่างดียิ่งในด้านต่างๆตามวัตถุประสงค์ของ การจัดให้มีกิจกรรมดังกล่าว จึงเห็นควรส่งเสริมให้มีโครงการส่งเสริมผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์สู่เวที นานาชาติอย่างต่อเนื่องต่อไป

๒. วัตถุประสงค์

๒.๑ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทย ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัย/ผลงานประดิษฐ์คิดค้นที่มีศักยภาพในเวทีระดับสากล

๒.๒ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัย/ด้านการประดิษฐ์คิดค้น กับองค์กรนานาชาติ

๒.๓ เพื่อขยายผล/เปิดโอกาสในการหาช่องทางการตลาดให้ผลงานวิจัย/ผลงานประดิษฐ์คิดค้นของไทยโดยผ่านการนำเสนอในเวทีนานาชาติ

 
๓. สถานที่จัดงานประจำปี ๒๕๖๐
 
                       ๑. งาน "10th Internation Warsaw Invention Show" (IWIS 2016) 

ณ กรุงวอร์ซอ สาธารณรัฐโปแลนด์ ระหว่างวันที่ ๑๐ – ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๙

๒. งาน “9th International Exhibition of Inventions Kunshan” (IEIK 2016)

     ณ เมืองคุนซาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

๓. งาน “Seoul International Invention Show 2016” (SIIF 2016)

ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ ๑ – ๔ ธันวาคม ๒๕๕๙

๔. “2016 Kaohsiung International Invention and Design EXPO” (KIDE 2016)
    ณ เมืองเกาสง ประเทศไต้หวัน ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๙

๕. งาน “45th International Exhibition of Inventions of Geneva”

ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ระหว่างวันที่ ๒๙ มีนาคม ถึง ๒ เมษายน ๒๕๖๐

๖. งาน “13th Taipei International Invention Show & Technomart” (INST 2017)

ณ กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน ประมาณเดือน กันยายน - ตุลาคม ๒๕๖๐

๔. ขอบเขตการดำเนินงาน

เป็น กิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนให้นักวิจัย นักประดิษฐ์ไทย มีโอกาสได้นำเสนอผลงานวิจัยและผลงานประดิษฐ์คิดค้นในเวทีนานาชาติ มีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัย/ด้านการประดิษฐ์คิดค้นกับองค์กรนานา ชาติ เพื่อการพัฒนาหรือขยายผลงานวิจัย/ผลงานประดิษฐ์คิดค้นของนักวิจัย/นัก ประดิษฐ์ไทยให้ไปสู่ระดับสากล

๕. ระยะเวลาดำเนินงาน

ตุลาคม  ๒๕๕๙ – กันยายน  ๒๕๖๐

๖. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผลงานประดิษฐ์คิดค้น ผลงานวิจัย และนวัตกรรมของนักวิจัย/นักประดิษฐ์ไทย ได้เผยแพร่สู่การใช้ประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมายในเวทีระดับสากล

๒. นักประดิษฐ์คิดค้นและนักวิจัย ได้มีโอกาสแสดงศักยภาพด้านการวิจัย การประดิษฐ์และการผลิตนวัตกรรมต่อสาธารณชนในระดับนานาชาติ

๓. เกิดเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยและการประดิษฐ์คิดค้นระหว่างประเทศไทยกับองค์กรด้านการประดิษฐ์ในระดับสากล

 
 
 
 
 
 

วันที่ 8 สิงหาคม 2559   โดย
อ่าน 890 ครั้ง

       

สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
340 ถ.สุรนารายณ์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000
โทรศัพท์ 044-009009 ต่อ 9460
โทรสาร 044-272941
E-mail : wijaikorat@nrru.ac.th

Copyright (c) Research and development Institute. All rights reserved.